กาตาร์ นั้นได้เตรียมพร้อมสำหรับฟุตบอลโลก 2022 ซึ่งจะเป็นฟุตบอลโลกครั้งแรกของพวกเขามานานกว่า 12 ปี นับตั้งแต่ที่พวกเขาได้รับสิทธิในการเป็นเจ้าภาพ
โดยพวกเขาไม่เพียงแค่ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพเท่านั้น แต่พวกเขายังทุ่มเงินมหาศาลไปกับการสร้างศูนย์ฝึกใหม่ ๆ เพื่อสร้างทีมที่พร้อมจะแข่งขันในรายการระดับโลก
อย่างไรก็ตาม แชมป์เอเชียนคัพปี 2019 ก็ทำผลงานได้อย่างย่ำแย่ โดยพวกเขาแพ้ไปทั้งสามเกมและทำได้เพียงประตูเดียว
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าชาติเจ้าภาพมักจะต้องเป็นทีมที่ทำผลงานได้ดี เราจึงจะมาดูกันว่าผลงานของกาตาร์อยู่ในระดับไหนเมื่อเทียบกับชาติเจ้าภาพชาติอื่นในฟุตบอลโลก
สถิติในฟุตบอลโลกของ กาตาร์
ฟุตบอลโลก 2022 เป็นฟุตบอลโลกครั้งแรกของ กาตาร์ อย่างแท้จริง เนื่องจากพวกเขาไม่เคยผ่านรอบคัดเลือกมาได้เลย ซึ่งในทัวร์เมนต์นี้พวกเขาก็ได้เข้าร่วมการแข่งขันโดยอัตโนมัติในฐานะเจ้าภาพ โดยผลงานรอบคัดเลือกที่ดีที่สุดของพวกเขาก็คือการเข้าไปถึงรอบคัดเลือกรอบที่สี่ของโซนเอเชีย ในปี 2014 และ 2018
นี่จึงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1934 ที่ชาติเจ้าภาพไม่เคยผ่านรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลกมาก่อน เพราะโดยปกติแล้วเจ้าภาพทุกประเทศจะเคยผ่านรอบคัดเลือกอย่างน้อยหนึ่งครั้งก่อนที่จะได้จัดการแข่งขัน
ผลงานของ กาตาร์ ในฟุตบอลโลก 2022
อย่างที่ทราบกันไปด้านบนแล้วว่า กาตาร์ นั้นผ่านเข้ามาเล่นฟุตบอลโลกโดยอัตโนมัติในฐานะเจ้าภาพ เป็นผลให้พวกเขาถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเอ ร่วมกับ เนเธอร์แลนด์ เซเนกัล และเอกวาดอร์ ซึ่งกูรูหลายคนก็มองว่าเป็นกลุ่มที่ กาตาร์ สามารถจะทำผลงานให้ดีได้
อย่างไรก็ตาม พวกเขาเริ่มมีสัญญาณไม่ดีตั้งแต่ในเกมเปิดสนาม หลังจากต้องพ่ายให้กับ เอกวาดอร์ 0-2 โดยในเกมนั้นพวกเขาทำผลงานได้ย่ำแย่และมีโอกาสทำประตูน้อยมาก ซึ่งเกมถัดมาพวกเขาก็ไม่ได้เล่นดีกว่าเดิมเท่าไหร่นัก แม้ว่าจะทำประตูแรกในฟุตบอลโลกได้ แต่พวกเขาก็ต้องแพ้ให้กับ เซเนกัล 1-3 ซึ่งผลการแข่งขันนี้ก็ทำให้พวกเขาตกรอบแรกไปอย่างรวดเร็ว
แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้ถูกการคาดหมายว่าจะเล่นได้ดีอะไรในเกมสุดท้ายกับ เนเธอร์แลนด์ แต่สุดท้ายพวกเขาก็เข้าฟอร์มเดิมและแพ้ไป 0-1
โดย กาตาร์ นั้นจบเป็นอันดับบ๊วยของกลุ่มด้วยการไม่มีแม้แต่แต้มเดียวติดมือ ซึ่งพวกเขายังเสียประตูไปถึง 7 ลูก และทำได้เพียงแค่ประตูเดียวอีกด้วย อีกทั้งพวกเขายังไม่เคยขึ้นนำใครก่อนในทัวร์นาเมนต์นี้และยังต้องเป็นทีมที่ตามหลังตั้งแต่ช่วงครึ่งแรกในทุกเกมอีกด้วย
กาตาร์ คือเจ้าภาพฟุตบอลโลกที่ทำผลงานได้แย่ที่สุดหรือไม่?
ผลงานที่ย่ำแย่ของ กาตาร์ ทำให้พวกเขาสร้างประวัติศาสตร์เป็นชาติเจ้าภาพที่มีผลงานแย่ที่สุดในฟุตบอลโลก
ในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งก่อน ๆ ชาติเจ้าภาพจะต้องผ่านเข้ารอบน็อคเอาท์หรือรอบแบ่งกลุ่มรอบที่สองได้เป็นอย่างน้อย แต่ก็มีอยู่ชาติหนึ่งคือ แอฟริกาใต้ ในปี 2010 ซึ่งแม้จะเสมอกับ เม็กซิโก ในเกมเปิดสนาม และเอาชนะ ฝรั่งเศส ได้ในเกมสุดท้าย แต่พวกเขาก็พลาดโอกาสในการเข้ารอบ 16 ทีมด้วยผลต่างประตูได้เสีย โดยพวกเขาไปแพ้ให้กับ อุรุกวัย ถึง 0-3 ในเกมที่สอง
อย่างไรก็ตาม แอฟริกาใต้ ก็ยังคว้าได้ถึง 4 คะแนน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม และเมื่อเปรียบกับ กาตาร์ แล้วพวกเขาก็ดูแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง แม้จะตกรอบเหมือนกันก็ตาม
และเป้าหมายที่ กาตาร์ วางไว้ว่าจะเพิ่มชื่อเสียงให้กับตัวเองทั้งในและนอกสนามก็ต้องจบลงด้วยฟอร์มอันย่ำแย่ของพวกเขาในครั้งนี้
เจ้าภาพฟุตบอลโลกครั้งไหนที่ทำผลงานได้ดีที่สุด?
ด้วยแรงกระตุ้นจากผู้คนในประเทศ ก็มีหลายชาติที่เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกได้ฉลองกันอย่างมีความสุข โดยมีถึง 6 ชาติด้วยกันที่เคยคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกในบ้านของพวกเขาเอง
โดยชาติดังกล่าวก็รวมไปถึง อุรุกวัย ในปี 1930 และอิตาลี ในปี 1934 จากนั้นก็เป็น อังกฤษ ที่คว้าแชมป์โลกได้ในบ้านตัวเองเมื่อปี 1966 ซึ่งก็เป็นแชมป์แรกและแชมป์เดียวของพวกเขาจนถึงตอนนี้
ส่วนทาง เยอรมันตะวันตก เคยคว้าแชมป์โลกครั้งที่สองได้ในการเป็นเจ้าภาพเมื่อปี 1974 และ 4 ปีถัดมา อาร์เจนตินา ก็คว้าแชมป์ในฐานะเจ้าภาพได้เช่นกัน
ประเทศเจ้าภาพสุดท้ายที่เคยคว้าแชมป์โลกในบ้านของตัวเองคือ ฝรั่งเศส ในปี 1998 โดยครั้งนั้นพวกเขาเอาชนะ บราซิล ไป 3-0 ในนัดชิงชนะเลิศ
แต่ก็ยังมีประเทศอื่น ๆ ที่ทำผลงานได้ดีในฐานะเจ้าภาพ แม้จะไม่ได้แชมป์ก็ตาม โดยเมื่อปี 1958 สวีเดน ต้องพ่ายให้กับ บราซิล ไปในรอบชิง และผลงานของ เกาหลีใต้ ที่ยังคงถูกวิจารณ์มาจนถึงทุกวันนี้ หลังจากเข้าไปถึงในรอบรองชนะเลิศเมื่อปี 2002 และ ชิลี เองก็เคยเข้าไปถึงรอบรองชนะเลิศด้วยเช่นกันในปี 1962
ส่วน เม็กซิโก และ สวิตเซอร์แลนด์ ก็เข้าไปได้ถึงรอบก่อนรองชนะเลิศเมื่อพวกเขาได้เป็นเจ้าภาพ ซึ่งญี่ปุ่น เองก็เป็นอีกชาติที่ทำผลงานได้ดี โดยพวกเขาเข้าไปได้ถึงรอบ 16 ทีมในปี 2002
ผลงานของชาติเจ้าภาพในฟุตบอลโลกแต่ละครั้ง
ปี | เจ้าภาพ | สถิติ | ประตูได้-เสีย | รอบการแข่งขัน |
---|---|---|---|---|
1930 | อุรุกวัย | ชนะ4, เสมอ0, แพ้0 | +12 | แชมป์ |
1934 | อิตาลี | ชนะ4, เสมอ1, แพ้0 | +9 | แชมป์ |
1938 | ฝรั่งเศส | ชนะ1 แพ้1 | 0 | รอบก่อนรองชนะเลิศ |
1950 | บราซิล | ชนะ4, เสมอ1, แพ้1 | +16 | รองแชมป์ |
1954 | สวิตเซอร์แลนด์ | ชนะ2, เสมอ0, แพ้2 | 0 | รอบก่อนรองชนะเลิศ |
1958 | สวีเดน | ชนะ4, เสมอ1, แพ้1 | +5 | รองแชมป์ |
1962 | ชิลี | ชนะ4, เสมอ0, แพ้2 | +2 | อันดับสาม |
1966 | อังกฤษ | ชนะ5, เสมอ1, แพ้0 | +8 | แชมป์ |
1970 | เม็กซิโก | ชนะ2, เสมอ1, แพ้1 | +2 | รอบก่อนรองชนะเลิศ |
1974 | เยอรมันตะวันตก | ชนะ6, เสมอ0, แพ้1 | +9 | แชมป์ |
1978 | อาร์เจนตินา | ชนะ5, เสมอ1, แพ้1 | +11 | แชมป์ |
1982 | สเปน | ชนะ1, เสมอ2, แพ้2 | -1 | รอบแบ่งกลุ่มรอบที่สอง |
1986 | เม็กซิโก | ชนะ3, เสมอ0, แพ้2 | +4 | รอบก่อนรองชนะเลิศ |
1990 | อิตาลี | ชนะ6, เสมอ1, แพ้0 | +8 | อันดับสาม |
1994 | สหรัฐอเมริกา | ชนะ1, เสมอ1, แพ้2 | -1 | รอบ 16 ทีม |
1998 | ฝรั่งเศส | ชนะ6, เสมอ1, แพ้0 | +13 | แชมป์ |
2002* | เกาหลีใต้ | ชนะ3, เสมอ2, แพ้2 | +2 | อันดับสี่ |
2002* | ญี่ปุ่น | ชนะ2, เสมอ1, แพ้1 | +2 | รอบ 16 ทีม |
2006 | เยอรมัน | ชนะ5, เสมอ1, แพ้1 | +8 | อันดับสาม |
2010 | แอฟริกาใต้ | ชนะ1, เสมอ1, แพ้1 | -2 | รอบแบ่งกลุ่ม |
2014 | บราซิล | ชนะ3, เสมอ2, แพ้2 | -3 | อันดับสี่ |
2018 | รัสเซีย | ชนะ2, เสมอ2, แพ้1 | +4 | รอบก่อนรองชนะเลิศ |
2022 | กาตาร์ | ชะ0, เสมอ0, แพ้3 | -7 | รอบแบ่งกลุ่ม |
*มีการจับมือกันเป็นเจ้าภาพ
NBA LEAGUE PASS สมัครเพื่อชมการแข่งขันเอ็นบีเอสดทุกนัดคลิก