ฟุตบอลโลก 2022 เปื้อนเลือด ? เบื้องหลังการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่กาตาร์

11-22-2022
2นาทีที่อ่าน
Getty Images

เบื้องหลังความตื่นเต้นของฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์ คือแรงงานข้ามประเทศ

ตามรายงานบอกว่ามีแรงงานข้ามชาติเสียชีวิตนับพันคนในการก่อสร้างสนามของกาตาร์ นับตั้งแต่ที่พวกเขาได้สิทธิ์เป็นเจ้าภาพเมื่อปี 2010

แต่ทางรัฐบาลกาตาร์ได้บอกว่ายอดผู้เสียชีวิตนั้นไม่ได้เยอะตามที่รายงานระบุไว้

และนี่คือบทวิเคราะห์จาก The Sporting News ถึงเรื่องที่เป็นประเด็นให้ถกเถียงกันมากที่สุดในช่วงฟุตบอลโลก 2022

มีคนเสียชีวิตกี่คนในการสร้างสนามที่ประเทศกาตาร์?

ตามรายงานจากรัฐบาลของกาตาร์ มีผู้เสียชีวิต 37 รายในหมู่คนงานที่ก่อสร้างสนามฟุตบอลโลกในปี 2014 ถึง 2020 อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวอื่น ๆ ไม่เห็นด้วยกับตัวเลขเหล่านี้

The Guardian ได้รายงานเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2021 นั้นได้เผยว่าจากบันทึกของสถานทูตประเทศต่าง ๆ มีคนงานชาวอินเดีย, เนปาล, บังกลาเทศ, และศรีลังการาว ๆ 6,500 คนเสียชีวิต นับตั้งแต่ที่กาตาร์ได้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกเมื่อปี 2010

แหล่งข่าวอื่น ๆ ได้บอกว่าจริง ๆ แล้วยอดผู้เสียชีวิตนั้นสูงกว่านี้มาก นอกจากตัวเลขดังกล่าวมีเพียงแค่คนงานจาก อินเดีย, เนปาล, บังกลาเทศ, และศรีลังกา ไม่ได้รวม ฟิลิปปินส์ กับ เคนย่า ที่จำนวนคนงานเสียชีวิตสูงเช่นกัน

การเสียชีวิตนั้นไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่ามาจากโครงการก่อสร้างของที่ใดหรือพื้นที่ตรงไหนของกาตาร์ แต่เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อกาตาร์ได้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกเมื่อปี 2010 และได้เริ่มโครงการหลาย ๆ อย่างเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับงานนี้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสนามกีฬา, โรงแรม, ถนน, สนามบิน และรวมไปถึงระบบขนส่งมวลชลที่มีการปรับปรุงใหม่ด้วยเช่นกัน

ทำไมคนงานที่สร้างสนามฟุตบอลโลกถึงเสียชีวิต?

รัฐบาลของกาตาร์ได้เผยเมื่อต้นปีที่ผ่านมาว่า มีเพียง 3 จาก 37 คนที่เสียชีวิตเท่านั้นที่เป็นคนงานก่อสร้างสนามฟุตบอลโลกในระหว่างปี 2014 ถึง 2020 ตามการเก็บบันทึกของพวกเขาเอง

อย่างไรก็ตาม ในปี 2021 Amnesty International ได้กล่าวหารัฐบาลของกาตาร์ ที่บอกว่าสาเหตุของการเสียชีวิตของคนงานเหล่านั้นเป็นการเสียชีวิตแบบปกติ ไม่ได้มีอะไรนอกเหนือจากนั้น แทนที่จะมีการสืบสวนให้แน่ชัด นั่นหมายความว่า การเสียแบบที่รัฐบาลกาตาร์บอกนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องจริง

ตามรายงานจาก The Guardian ระบุว่า สาเหตุที่แรงงานข้ามชาติเสียชีวิตเป็นจำนวนมากเพราะว่าผู้คนเหล่านั้นมีอาการหัวใจวายและเส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งเป็นผลมาจากอุณหภูมิของประเทศกาตาร์ที่สูงตลอดทั้งปี

นอกจากนี้ มีรายงานมีการฆ่าตัวตายเกิดขึ้นเกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งนั่นเป็นผลมาจากการทำงานที่หนักเกินไป

ทำไมการเสียชีวิตจากการสร้างสนามฟุตบอลถึงเกี่ยวข้องกับแรงงานต่างชาติ?

เนื่องจากมีความจำเป็นต้องสร้างสิ่งต่าง ๆ ใหม่เหมาะสมกับการเป็นเจ้าภาพ กาตาร์จึงต้องเปิดรับแรงงานต่างชาติเข้ามาช่วยทำงานหลายพันคน

มีสนามที่ต้องสร้างใหม่ตั้งแต่ต้นถึง 7 แห่งด้วยกัน ในขณะที่สนามบิน, ระบบรถไฟใต้ดิน, ถนนหลายสาย, และโรงแรมประมาณ 100 แห่งก็ต้องถูกสร้างขึ้นมาใหม่ด้วยเช่นกัน

Scroll to Continue with Content

นอกจากนี้ ยังมีการสร้างสิ่งต่าง ๆ ในพื้นที่รอบ ๆ สนามกีฬา ลูเซล สเตเดี้ยม ซึ่งเป็นสนามที่เอาไว้เล่นนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกในครั้งนี้อีกด้วย

ทางกาตาร์ ได้กล่าวว่า ได้จ้างคนงานจากต่างชาติราว ๆ 3 หมื่นคนในการสร้างสนามกีฬาอย่างเดียว และส่วนใหญ่คนพวกนั้นจะมาจาก บังกลาเทศ, อินเดีย, เนปาล และ ฟิลิปปินส์

ฟีฟ่า และ กาตาร์​ พูดอย่างไรบ้างถึงเหตุการณ์เสียชีวิตที่เกิดขึ้น?

ในเดือนพฤษภาคม ปี 2022 ประธานของฟีฟ่าอย่าง จิอานนี่ อินฟานติโน่ นั้นไม่ได้ทำการโต้แย้งถึงเรื่องเหตุการณ์แรงงานเสียชีวิตในประเทศกาตาร์ แต่ระบุว่า สนามที่ถูกสร้างขึ้นนั้นมันมาจากการทำงานหนัก

“อย่าลืมอะไรไปหนึ่งอย่าง เมื่อเราพูดถึงเรื่องนี้กัน นั่นก็คือเรื่องงาน หรืองานหนัก งานที่มันหนักจริง ๆ” อินฟานติโน่ กล่าว

“อเมริกา เป็นประเทศแห่งการอพยพ พ่อแม่ของผมก็อพยพจากอิตาลีไปสวิตเซอร์แลนด์”

“เมื่อคุณให้งานใคร ในภาวะที่ยากลำบาก คุณต้องทำให้เขามีศักดิ์ศรีและความภาคภูมิใจ นี่มันไม่ใช่การกุศล คุณไม่ได้ทำการกุศลอยู่ คุณจะไม่ให้บางอย่างกับบางคนไปแล้วพูดว่า อยู่ในที่ที่คุณอยู่ ผมได้ให้อะไรคุณบางอย่างและผมก็แฮปปี้”

“ตอนนี้ มีคน 6,000 กว่าคนที่อาจจะเสียชีวิตในงานอื่น ๆ และแน่นอนว่า ฟีฟ่า ไม่ใช่ตำรวจของโลกหรือรับผิดชอบสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่ก็ต้องขอบคุณฟีฟ่า และขอบคุณฟุตบอล เราได้เปลี่ยนสถานะของคนงาน 1.5 ล้านคนที่ทำงานในกาตาร์”

ในขณะที่คำพูดของรัฐบาลกาตาร์เกี่ยวกับเรื่องนี้นั้นมีน้อยมาก ๆ

จากข้อมูลของ The Guardian ระบุว่า รัฐบาลของกาตาร์เชื่อว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากการก่อสร้างทั้งหมดในปี 2010 ถึง 2020 จำนวน 6,500 คน คือแรงงานข้ามชาติ และตัวเลขนี้นั้นรวมไปถึงคนที่ทำงานอยู่ในธุรกิจอื่น ๆ แต่เสียชีวิตโดยธรรมชาติหลังจากอยู่ในกาตาร์มาหลายปีแล้วด้วย

รัฐบาลกาตาร์ ยังชี้ให้เห็นว่า ในปี 2017 รัฐบาลได้ออกมาตรการปกป้องแรงงานต่างชาติจากการทำงานในสภาพอากาศที่ร้อนจัด, จำกัดเวลาการทำงาน, และพัฒนาสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน

“อัตราการเสียชีวิตจากชุมชนเหล่านี้นั้นอยู่ในช่วงที่เราคาดไว้สำหรับขนาดและข้อมูลประชากร” รัฐบาลกาตาร์ กล่าว

“อย่างไรก็ตาม ทุก ๆ การเสียชีวิตนั้นคือโศกนาฏกรรม และมันไม่มีความพยายามใด ๆ ในการพยายามป้องกันการเสียชีวิตในประเทศของเราเลย”

NBA LEAGUE PASS สมัครเพื่อชมการแข่งขันเอ็นบีเอสดทุกนัดคลิก