หลังจากที่ แอลเอ เลเกอร์ส พ่ายแพ้ให้กับ ซาคราเมนโต้ คิงส์ 4-0 เกมในฤดูกาลปกติ ประเด็นหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงเป็นจำนวนมากเลยก็คือการที่ แอนโทนี เดวิส พ่ายแพ้ให้กับทีมที่ โดมันทาส ซาโบนิส เล่นให้ถึง 10 เกมติดต่อกันซึ่งมันไม่ใช่น้อยเลย
แต่ที่มากไปกว่านั้นก็คือเซ็นเตอร์มือ 1 ของสหรัฐอเมริกาคนนี้ต้องพ่ายแพ้ให้กับ นิโคลา โยคิช ไปในช่วง 7 เกมหลังสุดที่เจอกันทั้งเพลย์ออฟและฤดูกาลปกติ ไม่เพียงเท่านั้น เจ้าตัวยังแพ้ให้กับ โจเอล เอ็มบีด เซ็นเตอร์ชาวแคเมอรูนที่เลือกเล่นให้อเมริกาถึง 7 เกม และชนะเพียงเกมเดียวเท่านั้นจาก 8 เกมหลังสุด
มันจึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมหลายคนมองว่าตอนนี้ สหรัฐอเมริกากำลังประสบกับวิกฤติอันใหญ่หลวงในตำแหน่งบิ๊กแมน ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งแรกแต่ทว่าปัญหาเหล่านี้ถูกพูดถึงมานานแล้ว หรือในยุคต่อไปบิ๊กแมนต่างประเทศกำลังจะครองลีก? ประเด็นนี้มีความเป็นไปได้แค่ไหน หากใครพร้อมแล้ว ไปหาคำตอบกันได้ที่นี่
NBA LEAGUE PASS สมัครเพื่อชมการแข่งขันเอ็นบีเอสดทุกนัดคลิก
หรือ NBA กำลังเข้าสู่ยุคทองที่เซ็นเตอร์จากต่างแดนครองลีก?
ก่อนอื่นทางเราได้ทำตารางไว้แล้วว่าเซ็นเตอร์ตัวจริงของแต่ละทีมมาจากชาติไหนกันบ้าง เพราะเรื่องนี้น่าจะเป็นสิ่งชี้วัดได้เบื้องต้นว่าความนิยมของผู้เล่นบิ๊กแมนในตอนนี้เอนเอียงไปทางไหน
สายตะวันออก
ทีม |
เซ็นเตอร์ตัวจริง |
ประเทศ |
บอสตัน เซลติกส์ |
คริสแตปส์ พอร์ซิงกิส |
ลัตเวีย |
คลีฟแลนด์ คาวาเลียร์ส |
แจร์เร็ตต์ อัลเลน |
สหรัฐอเมริกา |
มิลวอกี้ บัคส์ |
บรูค โลเปซ |
สหรัฐอเมริกา |
นิวยอร์ก นิกส์ |
ไอเซอาห์ ฮาร์เทนสไตน์ |
สหรัฐอเมริกา |
ออร์แลนโด้ แมจิก |
เวนเดล คาร์เตอร์ จูเนียร์ |
สหรัฐอเมริกา |
ซิกเซอร์ส |
โจเอล เอ็มบีด |
แคเมอรูน |
อินเดียนา เพเซอร์ส |
ไมล์ส เทิร์นเนอร์ |
สหรัฐอเมริกา |
ไมอามี ฮีต |
แบม อเดบาโย |
สหรัฐอเมริกา |
ชิคาโก้ บูลส์ |
นิโคลา วูเซวิช |
สวิตเซอร์แลนด์ |
แอตแลนต้า ฮอว์กส์ |
คลินท์ คาเปล่า |
สวิตเซอร์แลนด์ |
บรูคลิน เน็ตส์ |
นิโคลัส แคล็กซ์ตัน |
สหรัฐอเมริกา |
โตรอนโต้ แร็ปเตอร์ส |
จาค็อบ โพเทิล |
ออสเตรีย |
ชาร์ลอตต์ ฮอร์เน็ตส์ |
มาร์ค วิลเลียมส์ |
สหรัฐอเมริกา |
ดีทรอยต์ พิสตันส์ |
เจเลน ดูเรน |
สหรัฐอเมริกา |
วอชิงตัน วิซาร์ดส์ |
ไคล์ คูซมา |
สหรัฐอเมริกา |
สายตะวันตก
ทีม |
เซ็นเตอร์ตัวจริง |
ประเทศ |
เดนเวอร์ นักเก็ตส์ |
นิโคลา โยคิช |
เซอร์เบีย |
โอคลาโฮมา ซิตี้ ธันเดอร์ |
เช็ต โฮล์มเกรน Scroll to Continue with Content
|
สหรัฐอเมริกา |
มินเนโซต้า ทิมเบอร์วูล์ฟส์ |
รูดี้ โกแบร์ |
ฝรั่งเศส |
แอลเอ คลิปเปอร์ส |
อิวิซา ซูบาซ |
บอสเนีย |
นิวออร์ลีน เพลิแคนส์ |
โจนาส วาลาชูนาส |
ลิทัวเนีย |
ซาคราเมนโต้ คิงส์ |
โดมันทาส ซาโบนิส |
ลิทัวเนีย |
ฟินิกซ์ ซันส์ |
ยูซุฟ เนอร์คิช |
บอสเนีย |
ดัลลัส แมฟเวอร์ริกส์ |
แดเนียล แกฟเฟิร์ด |
สหรัฐอเมริกา |
แอลเอ เลเกอร์ส |
แอนโทนี เดวิส |
สหรัฐอเมริกา |
โกลเด้น สเตท วอร์ริเออร์ส |
เดรย์มอนด์ กรีน |
สหรัฐอเมริกา |
ฮูสตัน ร็อคเก็ตส์ |
อัลเพอเรน เซ็นกุน |
ตุรเคียร์ |
ยูทาห์ แจ๊ซ |
จอห์น คอลลินส์ |
สหรัฐอเมริกา |
เมมฟิส กริซลีย์ส |
จาเร็น แจ็คสัน จูเนียร์ |
สหรัฐอเมริกา |
พอร์ทแลนด์ เทรลเบลเซอร์ส |
ดีอันเดร เอย์ตัน |
บาฮามาส |
ซานแอนโทนิโอ สเปอร์ส |
วิคเตอร์ เวมบันยามา |
ฝรั่งเศส |
จากข้อมูลในตารางด้านบนได้ชี้ให้เห็นข้อมูลที่น่าสนใจว่าตอนนี้เปอร์เซ็นต์ระหว่าง เซ็นเตอร์ชาวอเมริกาเทียบกับชาวต่างชาติจะอยู่ที่ 16 ต่อ 14 หรือเอาง่ายๆก็คือเซ็นเตอร์ชาวอเมริกามีโอกาสได้ลงเล่นเป็นตัวจริงแค่ 53.3% เท่านั้น
ครึ่งต่อครึ่ง นี่คือจำนวนของผู้เล่นชาวต่างชาติที่เป็นบิ๊กแมนจากต่างประเทศ เรื่องที่น่าสนใจมากกว่านั้นก็คือ มันมีความต่างกันระหว่างสองฝั่งอยู่ ทางด้านสายตะวันออก ทีม 6 อันดับแรก จะมีบิ๊กแมนตัวจริงสหรัฐอเมริกาอยู่ 4 คน และต่างประเทศ 2 คน (นับรวมเอ็มบีด)
กลับกันในสายตะวันตก ในทีม 6 อันดับแรก จะมีบิ๊กแมนตัวจริงสหรัฐอเมริกาอยู่แค่ 1 คนนั่นก็คือ เช็ต โฮล์มเกรน และมีเซ็นเตอร์ต่างประเทศถึง 5 คนเลยทีเดียว แต่ถ้าหากรวมทั้งสองสายเข้าด้วยกันทั้งหมด 12 ทีม พวกเขาจะมีเซ็นเตอร์ตัวจริงชาวอเมริกาแค่ 5 คนเท่านั้นเอง
ยิ่งไปกว่านั้น อันดับ 1 ของสองสายก็ยังมีเซ็นเตอร์ตัวจริงอยู่ในยุโรปทั้งสองฝั่งไม่ว่าจะเป็น นิโคลา โยคิช หรือ คริสแตปส์ พอร์ซิงกิส
เพิ่มเติมก็คือไม่ว่าจะรางวัลใหญ่อันไหน บิ๊กแมนต่างประเทศก็ล้วนแล้วเป็นคนที่ครองเต็งหนึ่งเป็นว่าเล่น อย่างตัวเต็ง MVP ในตอนนี้ก็คือ นิโคลา โยคิช และ โจเอล เอ็มบีด คงเป็นอันดับ 1 หากเขาไม่บาดเจ็บไปก่อน ส่วนผู้เล่นเกมรับยอดเยี่ยมก็มาจากฝรั่งเศสถึงสองคนทั้ง รูดี้ โกแบร์ และ วิคเตอร์ เวมบันยามา
เรียกได้ว่าตอนนี้ผู้เล่นบิ๊กแมนของสหรัญอเมริกาดูเป็นรองสุดๆ
ทำไมบิ๊กแมนต่างประเทศถึงได้รับความนิยมใน NBA?
ประเด็นแรกที่สำคัญเลยก็คือร่างกายของบิ๊กแมนต่างประเทศนั้นไม่ได้สูงและใหญ่น้อยกว่าคนอเมริกาเลย แม้ว่าความเป็นนักกีฬา, กล้ามเนื้อ หรือสมรรถภาพทางร่างกายจะด้อยกว่าก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่บิ๊กแมนอเมริกาสู้ไม่ได้เลยก็คือทักษะของบาสเกตบอล และนี่คือประเด็นที่สองที่กำลังจะพูดต่อไป
ในยุคที่ทักษะมีค่าไม่น้อยกว่าร่างกาย เซ็นเตอร์จากต่างประเทศที่ทำได้ทุกอย่างจะได้รับบทบาทเยอะขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการยิงได้หลายระยะ, การส่งที่ดี, การมองภาพใหญ่ของคอร์ทได้ดีกว่า, ทักษะการเลี้ยง และอีกหลายๆอย่าง ทั้งหมดนี้จึงเพิ่มความเป็นไปได้ในเกมรุกของทีมอย่างมาก
เรื่องการยิงสามแต้ม แม้พวกเขาจะไม่ได้ถล่มยิงแบบเป็นบ้าเป็นหลัง แต่ก็ใช่ว่าจะทำไม่ได้ ตรงนี้ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำไม นิโคลา วูเซวิช และ โจนาส วาลาชูนาส ถึงได้รับการไว้วางใจ แถมเมื่อเล่นไปเรื่อยๆเกมรับของพวกเขาที่เคยเป็นปัญหาก็พัฒนาขึ้นมาไม่น้อยเหมือนกัน ถึงจะไม่ได้ดีมาก แต่ก็ลดช่องว่างมาได้พอตัว
อีกอย่างที่น่าสนใจก็คือบิ๊กแมนจากต่างประเทศสามารถเป็นตัวหลักในเกมรุก หรือมือหนึ่งในเกมรุกให้กับหลายๆทีมได้เลย ไม่ว่าจะเป็น นิโคลา โยคิช, โดมันทาส ซาโบนิส, อัลเพอเรน เซ็นกุน, โจเอล เอ็มบีด หรือแม้กระทั่ง วิคเตอร์ เวมบันยามา ก็ตาม ซึ่งนี่ยังไม่ได้รวมตำแหน่ง 4 ที่เล่น 5 ได้ด้วยอย่างเช่น ยานนิส อันเโทคุมโป (กรีซ) และ คาร์ล แอนโทนี-ทาวน์ส (สาธารณรัฐโดมินิกัน)
บิ๊กแมนของอเมริกาในอนาคต หมดหวังแล้วหรือยัง?
สิ่งที่เซ็นเตอร์ชาวอเมริกาจะสู้ได้หากนับเป็นภาพใหญ่ก็คือความเร็ว, ร่างกาย และเกมรับที่อเนกประสงค์กว่าผู้เล่นชาวต่างชาติ ซึ่งตรงนี้เองที่ผู้เล่นบิ๊กแมนอเมริกาเหล่านี้มีประโยชน์เอามากๆในเพลย์ออฟไม่ว่าจะเป็น แอนโทนี เดวิส, เดรย์มอนด์ กรีน หรือ แบม อเดบาโย เพราะพวกเขาสามารถเปลี่ยนเกมรับได้หลายรูปแบบและพาทีมเอาชนะแต่ละซีรีส์ไปได้ แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะสามารถประครองตรงจุดนี้ไปได้อีกนานแค่ไหนเมื่อต่างประเทศเริ่มพัฒนาไปเรื่อยๆ ซึ่งนี่คือสิ่งที่น่ากลัว
ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ไม่ใช่ว่าจะไม่มีแสงสว่างให้กับบิ๊กแมนจากสหรัฐอเมริกาเลย เพราะรุกกี้สุดโหดอย่าง เช็ต โฮล์มเกรน ก็เป็นอีกคนที่เริ่มแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาของชาวอเมริกา เขาเล่นเกมรับได้ดี, สูงโย่ง, ยิงสามคะแนนได้อย่างแม่นยำ และมีการเลี้ยงบอลที่มาพร้อมกับการส่งที่ดี
หรือถ้าหากจะรวมตำแหน่งสี่ไปด้วยแล้ว เปาโล บันเคโร ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เป็นบิ๊กแมนแต่คล่องแคล่ว ยิงเองได้, สร้างเกมรอบตัวเขาได้ ถึงแม้จะยังไม่ได้มีประสิทธิภาพสูงส่งแต่ก็ดูมีอนาคตไม่น้อย หรือหากจะนับอดีตผู้เล่นเกมรับยอดเยี่ยมอย่าง จาเรน แจ็คสัน จูเนียร์ เอง เขาก็กำลังพัฒนาไปในแนวทางนี้เช่นกัน
เมื่อโลกเปลี่ยนไปแล้ว ทุกอย่างก็คงต้องปรับตัวและเปลี่ยนตาม ถ้าหากว่าสหรัฐอเมริกาอยากที่จะเป็นอันดับ 1 ของโลกต่อไป การสร้างบิ๊กแมนที่เข้ากับยุคสมัยคงเป็นเรื่องที่จำเป็นแน่นอนในอนาคต ซึ่งเรื่องนี้ต้องให้กาลเวลาเป็นตัวพิสูจน์ว่าเรื่องนี้จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่
บทความที่เกี่ยวข้อง : รู้จัก ร็อบบี อวิลา : เซ็นเตอร์ผู้ได้รับฉายาว่า นิโคลา โยคิช ระดับวิทยาลัย
บทความที่เกี่ยวข้อง : ไขข้อสงสัย : แอนโธนี เอ็ดเวิร์ดส์ กระโดดสูงแค่ไหนตอนบล็อกลูกยิงท้ายเกมของเพเซอร์ส
ติดตามบทความและข่าวสารกีฬาอื่นๆของเรา
Facebook : https://www.facebook.com/TheSportingNewsTH
Instagram : https://www.instagram.com/thesportingnews_th