nba

NBA All Star 2023 ควรเป็นใคร : อัปเดตผู้เล่นที่เหมาะสมที่สุดในปีนี้ ?

01-05-2023
3นาทีที่อ่าน
(NBAE via Getty Images)

ผมเคยทำเรื่อง “ตัวจริง ออลสตาร์ NBA ปี 2023 : ใครคือผู้เล่นที่เหมาะสมที่สุดในปีนี้ ?” ไปแล้วเมื่อช่วงกลางเดือนตุลาคม แต่คราวนี้เราจะมาอัปเดตกันว่าพวกเขาเหล่านั้นยังอยู่ในลิสต์นี้อยู่หรือไม่

เราขอย้ำกันอีกครั้งว่าการโหวตของแฟนๆ จะคิดเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ของการโหวตเพื่อตัดสินผู้เล่นตัวจริงของสายตะวันตก 5 คนและสายตะวันออก 5 คน ส่วนที่เหลืออีก 50 เปอร์เซ็นต์จะถูกแบ่งระหว่างผู้เล่นปัจจุบันและสื่อ ส่วนตัวสำรอง หัวหน้าโค้ชของ NBA จะเป็นคนเลือกในภายหลัง

หลายๆอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่ตอนนี้ไปจนถึงตอนที่การโหวต ออลสตาร์ สิ้นสุดลงในช่วงสิ้นเดือนมกราคม แต่นี่คือผู้เล่น 10 คนที่เราคิดว่าเหมาะสมที่สุด ณ จุดนี้ของฤดูกาล

เราจะขอเตือนความจำอีกซักเล็กน้อย ในแต่ละสายจะมีผู้เล่นตำแหน่งการ์ด 2 คน (การ์ด) และผู้เล่นฟรอนท์คอร์ทอีก 3 คน (ฟอร์เวิร์ดและเซ็นเตอร์) ซึ่งผู้เล่นตัวจริงไม่จำเป็นต้องประกอบด้วยการ์ดสองคน ฟอร์เวิร์ดสองคน และเซนเตอร์หนึ่งคนอีกต่อไป

NBA LEAGUE PASS สมัครเพื่อชมการแข่งขันเอ็นบีเอสดทุกนัด คลิกเลย

(NBA Entertainment)

ผู้เล่นตัวจริง All-Star สายตะวันตก

การ์ด: เดเมียน ลิลลาร์ด (เปลี่ยนจาก สเตฟเฟน เคอร์รี)

การ์ด: ลูก้า ดอนซิช (ไม่เปลี่ยน)

ฟรอนท์คอร์ท: เลบรอน เจมส์ (เปลี่ยนจาก แอนโทนี เดวิส)

ฟรอนท์คอร์ท: นิโคลา โยคิช (ไม่เปลี่ยน)

ฟรอนท์คอร์ท: ไซออน วิลเลียมสัน (ไม่เปลี่ยน)

เรามาเริ่มจากตำแหน่งที่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงกันก่อนดีกว่า ซึ่งผมจะขอพูดถึง ลูก้า ดอนซิช เป็นคนแรก

ตอนนี้ ดอนซิช ทำระดับ 50 แต้มไปแล้วถึง 3 เกม รวมถึงทำทริปเปิล-ดับเบิลไปในเกม 60 แต้มที่เจอกับ นิกส์ พร้อมพา แมฟส์ ขึ้นอันดับ 4 ในสายตะวันตกไปแล้วเรียบร้อย ตอนนี้ ดอนซิช มีค่าเฉลี่ยทั้งฤดูกาลอยู่ที่ 34.3 แต้ม, 8.9 แอสซิสต์ และ 8.8 รีบาวด์ต่อเกม

ตัดมาที่โยคิช การเล่นของเขายังทรงประสิทธิภาพเหมือนเคยในเกมรุก ทั้งเรื่องการส่งและการทำแต้มพร้อมพา นักเก็ตส์ อยู่อันดับ 1 ของสายทำให้ไม่มีข้อโต้เถียงที่จะทำให้เขาไม่อยู่ในตำแหน่งตัวจริงได้เลย

และสุดท้ายที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคือ ไซออน ที่ยังโชว์ฟอร์มโหดได้เสมอรวมถึงพึ่งทำ 43 แต้มซึ่งเป็นการทำแต้มที่มากสุดในอาชีพไปได้หมาดๆ ถึงแม้ว่าเขาอาจจะต้องพักไปหลังจากได้รับอาการบาดเจ็บแต่ตอนนี้เขายังคงเป็นตัวจริงอยูjในลิสต์นี้

สำหรับตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลงคือ เดเมียน ลิลลาร์ด ที่มาแทน เคอร์รี และ เลบรอน ที่มาแทน เดวิส ทุกคนอาจจะสงสัยว่าทำไมผมไม่เลือก จา มอแรนท์ มาแทน สเตฟ ทั้งๆที่เขาก็พาทีมขึ้นมาอยู่หัวตาราง ส่วนหนึ่งก็เพราะความมีประสิทธิภาพของเขาหากเทียบกับ เดเมียน ลิลลาร์ด

สถิติ

เดเมียน ลิลลาร์ด

จา มอแรนท์

PPG

27.4

27.2

APG

7.2

8.0

2P%

53.3%

50.9%

RPG

Scroll to Continue with Content

4.0

6.1

3P%

37.1%

31.1%

eFG%

54.6%

49.9%

TS%

61.5%

55.3%

จากตารางจะเห็นได้ว่าแต้มและแอสซิสต์ของทั้งคู่ค่อนข้างใกล้เคียงกันแต่สิ่งที่ไม่ใกล้เลยคือความมีประสิทธิภาพที่ เดเมียน ลิลลาร์ด กินขาดอยู่พอสมควร เพราะฉะนั้นในตอนนี้ผมขอเอนเอียงไปทาง ลิลลาร์ด มากกว่า จา อยู่นิดหน่อยแม้ว่า พอร์ตแลนด์จะไม่ได้อยู่ในหัวตารางของสายตะวันตกก็ตาม

ส่วนเหตุผลที่ สเตฟ ร่วงไปก็เพราะเขาหายไปเก้าเกมแล้วและอาจจะมากกว่านี้ ซึ่งเป็นเหตุผลเดียวกับที่ เจมส์ ขึ้นมาแทน แอนโทนี เดวิส เนื่องจากอาการบาดเจ็บนั่นเอง

เลบรอน เจมส์ยังคงเป็น เลบรอน เขาฉลองวันเกิดครบ 38 ปีด้วยการทำไปถึง 47 แต้มและเกือบ ทริปเปิล ดับเบิล ในเกมนั้น แถมหลังจากนั้นยังทำอีก 43 แต้มใส่ ชาร์ลอตต์ ฮอร์เน็ตส์ ไปอีก สุดยอดผู้เล่นยังไงก็ยังสุดยอด นี่จึงเป็นคำตอบว่าทำไม เจมส์ ถึงโผล่มาในลิสต์นี้

(NBA Entertainment)

ผู้เล่นตัวจริง ออลสตาร์ สายตะวันออก

การ์ด: โดโนแวน มิชเชล (ไม่เปลี่ยน)

การ์ด: เจย์เลน บราวน์ (ไม่เปลี่ยน….ตอนนี้)

ฟรอนท์คอร์ท: เจย์สัน เททัม (ไม่เปลี่ยน)

ฟรอนท์คอร์ท: ยานนิส อันเทโทคุมโป (ไม่เปลี่ยน)

ฟรอนท์คอร์ท: เควิน ดูแรนท์ (ไม่เปลี่ยน)

ในสายตะวันออกไม่ค่อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมากนัก นอกจากความสั่นคลอนของ เจย์เลน บราวน์

แน่นอนว่า บราวน์ มีฤดูกาลที่ยอดเยี่ยมที่สุดในอาชีพแต่ทีมของเขาอย่าง เซลติกส์ ไม่ได้ร้อนแรงเหมือนช่วงแรกๆทำให้เขาอาจจะคะแนนโหวตลดน้อยลงไป ส่วนผู้ที่มาท้าชิงคือ ไครี เออร์วิง และ ไทรีส ฮาลิเบอร์ตัน

ฮาลิเบอร์ตัน ตอนนี้มีค่าเฉลี่ยที่ 20.7 แต้มและ 10.1 แอสซิสต์ต่อเกม และทำให้ เพเซอร์ส อยู่ในโซนเพลย์ออฟแบบไม่มีใครคาดคิด ส่วน เออร์วิง มีส่วนร่วมสำคัญเป็นรองจาก ดูแรนท์ เท่านั้นในการนำ เน็ตส์ ทะยานขึ้นมาหัวตารางด้วยการชนะถึง 12 นัดรวด เพราะฉะนั้นในช่วงเวลาที่เหลือ เจเลน บราวน์ อาจจะร่วงไปจากลิสต์นี้ก็เป็นได้

อย่างที่กล่าวไป ดูแรนท์ ตือผู้นำทีม เน็ตส์ คว้าชัย 12 นัดติด แถมยังโชว์ฟอร์มผู้เล่นสองทางได้อย่างยอดเยี่ยมทั้งรับและรุก ส่วน เททัม แม้ฟอร์มทีมจะดรอปลงมาบ้างแต่เขายังเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดของทีมที่ดีที่สุดและยังเล่นในระดับ MVP

และคนสุดท้ายคือ ยานนิส ที่ยังคงเป็นผู้เล่นสองทางและผู้เล่นที่ครบเครื่องมากที่สุดใน NBA ซึ่งถ้าถามว่าโหดแค่ไหนก็ตอบได้เพียงว่าเขาอยู่ในเส้นทางการลุ้นทั้งรางวัล MVP และผู้เล่นเกมรับยอดเยี่ยมในปีนี้

สิ่งที่น่าเศร้าที่สุดคือผมอยากให้ โจเอล เอมบีด ติดเข้ามาด้วยแต่…อาจจะต้องรอให้ NBA เปิดการโหวตแบบไม่มีตำแหน่งซะก่อนมันถึงจะเป็นแบบนั้นได้

อ่านเรื่อง ทำความเข้าใจ NBA League Pass ช่องทางสำหรับรับชมบาสเกตบอลเอ็นบีเอ คลิก