"โสมแดง" เกาหลีเหนือ ก่ออุปสรรคใหญ่เกมฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกให้วุ่นวายอีกแล้ว เมื่อพวกเขาแจ้งว่าไม่พร้อมเปิดบ้านรับการมาเยือน ญี่ปุ่น ในวันที่ 26 มีนาคมนี้ได้ตามกำหนดการ ทำให้สหพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) และ ฟีฟ่า ต้องรีบแก้ปัญหากันฉุกเฉิน
แต่ด้วยความเป็นประเทศปิด ชาวต่างชาติจึงเดินทางเข้าออกได้สุดยากลำบากไม่เว้นกระทั่งนักกีฬาโดยเฉพาะ เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น สองคู่อริตัวฉกาจที่เจอกันในฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก เมื่อใดก็ต้องมีสตอรี่ให้พูดถึงทุกครั้งเรียกได้ว่าเป็นตัวป่วนชั้นดีถ้า "โสมขาว" กับ "ซามูไรบูลส์" ต้องมาเยือน
อย่างไรก็ตาม เมื่อใดที่ เกาหลีเหนือ ต้องเปิดบ้านรับมือสองชาติดังกล่าวในฟุตบอลรอบคัดเลือกพวกเขาก็จะสรรหาวิธีตุกติกมาใช้เสมอ ว่าแต่ในอดีตที่ผ่านมา เกาหลีใต้ กับ ญี่ปุ่น โดนอะไรมาบ้าง
[red-block widget_catalog_id="dafa_th_2" title="ทำนายผลการแข่งขันเพื่อรับรางวัลใหญ่! คลิกที่นี่" link="https://bit.ly/3AaJ15t"]
เกาหลีเหนือ VS ญี่ปุ่น
เรื่องประวัติศาสตร์ระหว่าง เกาหลีเหนือ กับ ญี่ปุ่น เป็นอะไรที่ยาวมากและหลายคนก็พอทราบความบาดหมางของพวกเขากันดี อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของฟุตบอลที่เจอกันมาทั้งหมด 15 ครั้ง พบว่าเกมที่ ญี่ปุ่น เป็นเจ้าบ้านนั้นได้เปิดให้นักเตะ เกาหลีเหนือ เข้ามาเตะได้ตามปกติไม่มีอะไรวุ่นวาย
แต่ถ้าถึงคราว "โสมแดง" เป็นเจ้าภาพบ้างก็จะเรื่องมากขึ้นมาทันใด ซึ่งจากประวัติศาสตร์ที่พวกเขาเป็นเจ้าบ้าน 7 ครั้งได้เล่นในผืนแผ่นดินตัวเองแค่ 4 ครั้ง ที่เหลือเป็นสนามกลางหมดเนื่องด้วยปัญหาทางการเมือง
ที่น่าสนใจคือ เกาหลีเหนือ ไม่เคยแพ้ ญี่ปุ่น ในบ้านตัวเองเลยสักครั้งแบ่งเป็น ชนะ 2 เสมอ 2 โดยเกมที่ทำเอาโลกทึ่งมากสุดเลยก็คือแมตช์คัดบอลโลก 1986 ณ สนาม คิม อิลซุง สเตเดียม วันที่ 30 เมษายน 1985 ซึ่งรายงานระบุว่ามีแฟนบอลเข้ามาชมในสนามถึง 90,000 คน แม้ความจุสนามจะบอกไว้ว่า 50,000 คนก็ตาม
กระนั้น ที่เล่ามายังน้อยไปเพราะจุดพีคสุดคือเกมบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก ณ สนาม คิม อิลซุง สเตเดียม วันที่ 15 พฤศจิกายน 2011 ซึ่งแมตช์นี้เกาหลีเหนือต้อนรับจัดแข่งอย่างดี แต่เล่นตุกติกด้วยการกักบริเวณนักเตะญี่ปุ่นอยู่แค่ในโรงแรมตั้งแต่มาจนกลับ แถมยังจัดห้องให้อยู่ไกลกันบ้าง คนละชั้นบ้างพร้อมกำชับว่าห้ามเดินออกจากชั้นที่อยู่ของตัวเองโดยมีทหารเฝ้าระวัง 24 ชั่วโมง
แล้วแผนนี้ก็สำเร็จจริง เมื่อพวกเขาเปิดบ้านชนะไปด้วยสกอร์ 1-0 จากลูกยิงของ พัค นัมชอล นาทีที่ 50 โดยมี รี กวางชอน อดีตนักเตะ เมืองทอง ยูไนเต็ด เป็นกัปตันทีม ส่วนรูปเกมนั้น เกาหลีเหนือ ไล่ฆ่านักเตะญี่ปุ่นแบบ 100% กวาดใบเหลืองไป 6 ใบ ใบแดง 7 ใบ ก่อนส่งญี่ปุ่นกลับบ้านแบบไม่ใยดี
ส่วนการเจอกันในฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือกวันที่ 26 มีนาคมนี้ พวกเขากลับแจ้งมาว่าไม่พร้อมจัด ก่อนจะยกเลิกไปแล้วเรียบร้อย ซึ่งต้องรอดูทีท่าของ AFC และ ฟีฟ่า ในเร็ว ๆ นี้
เกาหลีเหนือ VS เกาหลีใต้
หากเทียบกับญี่ปุ่นแล้ว เกาหลีใต้ ยามมาเยือนเพื่อนบ้านตอนบนถือว่าเบากว่ามากเพราะในประวัติศาตร์พวกเขาเคยเปิดบ้านรับการมาเยือนแค่ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกเป็นเกมอุ่นเครื่องรายการเชื่อมสัมพันธไมตรีเกาหลี ณ สนาม รังกราโด เมย์เดย์ วันที่ 11 ตุลาคม 1990 โดยรายงานจาก "โสมแดง" อ้างว่าผู้ชมเข้ามาเต็มความจุสนามถึง 150,000 คน
แต่ก่อนจะไปถึงแมตช์สอง เราขอแวะไปยังฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือกเสียก่อน ซึ่งครั้งนั้นทั้งสองเกาหลีจับสลากมาพบกันเองในรอบแบ่งกลุ่มรอบแรก แต่ปรากฏว่าทางสมาคมฟุตบอลเกาหลีเหนือไม่อนุญาตให้นำธงชาติและเพลงชาติเกาหลีใต้ เข้าประเทศ ดังนั้น AFC จึงเปลี่ยนให้เกาหลีเหนือเล่นสนามกลางที่จีนทั้งสองนัด ส่วนเกาหลีใต้ได้เล่นเกมเหย้ารับการมาเยือนของเกาหลีเหนือได้ตามปกติ
และแล้ววันที่เกาหลีเหนือต้องเปิดบ้านเจอเกาหลีใต้ ในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกก็มาอีกครั้ง ในวันที่ 15 ตุลาคม 2019 ณ สนาม คิม อิลซุง สเตเดียม ซึ่งครั้งนี้เกาหลีเหนืออนุญาตให้นำธงชาติและเพลงชาติเกาหลีใต้เข้าประเทศได้ แต่สั่งห้ามประชาชนเข้ามาดูและไม่มีการถ่ายทอดสดในประเทศตัวเอง โดยรัฐบาลเกาหลีเหนือส่งบัตรเชิญให้แขกคนสำคัญเข้ามาดูแค่ 100 คนในห้อง VIP เท่านั้น
แน่นอนว่าศึกศักดิ์ศรีครั้งนี้ "โสมแดง" ไล่เตะ "โสมขาว" แทบปางตายแต่สุดท้ายเกมจบลงด้วยสกอร์ 0-0 มีใบเหลืองไปฝั่งละ 2 ใบเท่านั้น และนี่ก็เป็นการเจอกันครั้งสุดท้ายของพวกเขาอีกด้วย
ลุ้นรางวัลใหญ่ เชียร์ทีมชาติไทยถึงเกาหลีใต้
ลุ้นโชคที่นี่! ทายผลฟุตบอลประจำวันกับเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือที่สุด
ร่วมสนุกลุ้นรางวัลพร้อมโบนัสก้อนใหญ่
ติดตามบทความและข่าวสารกีฬาอื่นๆของเรา
Facebook : https://www.facebook.com/TheSportingNewsTH
Instagram : https://www.instagram.com/thesportingnews_th
Tiktok : https://www.tiktok.com/@thesportingnewsthailand