ศักดิ์ศรีชาวอาหรับ : โมร็อกโกกับการแสดงว่าชาติอาหรับก็ลุ้นแชมป์โลกได้

Author Photo
Achraf Hakimi Morocco vs Spain
Getty Images

มีระยะทางมากกว่า 3,400 ไมล์ระหว่างโมร็อกโกและกาตาร์ แต่ดูเหมือนว่าในสัปดาห์นี้จะมีคนจากโมร็อกโกนับล้านคนอยู่ที่กาตาร์หลังจากโมร็อกโกผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศฟุตบอลโลก 2022 ได้สำเร็จ

ทีมอื่น ๆ ที่ผ่านเข้ารอบรอบชนะเลิศในศึกฟุตบอลโลกต่างก็เคยมาอยู่จุดนี้/ทำสำเร็จ/ผิดหวัง และต้องการที่จะทำมันอีกครั้ง มีเพียงแค่ โครเอเชีย ที่ผ่านเข้ารอบชิงในปี 2018 แล้วไม่ได้แชมป์

โมร็อกโกไม่เพียงแค่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามแบบทวีคูณเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะว่าฟอร์มการเล่นของพวกเขาในนัดที่ผ่าน ๆ มาด้วย ก่อนที่เขาจะทำได้ยอดเยี่ยมอีกครั้งจนชนะโปรตุเกสได้

โมร็อกโก ได้กลายเป็นทีมของโลกแห่งอาหรับและได้รับเสียงเชียร์อย่างมากมายจากแฟน ๆ ที่เดินทางมายังประเทศกาตาร์ แต่ยังมีอีกหลายพันจากประเทศอาหรับอื่น ๆ ที่มีความสุขจากการไปถึงรอบรองชนะเลิศเป็นครั้งแรก และอยากเห็นโมร็อกโกไปไกลกว่านั้น ซึ่งปกติแล้วจะมีแต่ทีมจากทวีปอเมริกาใต้และยุโรปที่ได้ไปถึงจุดนั้น

فرحة تأهل المنتخب الوطني لربع نهاية كأس العالم 🤩

Moroccan fans warmly welcome the National Team after their qualification to the quarter-finals 🥳#DimaMaghrib 🇲🇦 #TeamMorocco #FIFAWorldCup @pumafootball pic.twitter.com/zwm3ZRgrUB

— Équipe du Maroc (@EnMaroc) December 6, 2022

เป็นเรื่องที่น่าตื่นตาตื่นใจเป็นพิเศษที่มีการจัดทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลโลกในประเทศอาหรับเป็นครั้งแรก ซึ่งได้ดึงดูดแฟน ๆ ของภูมิภาคให้มาชมการแข่งขันมากขึ้น รวมถึงพื้นที่ในและรอบ ๆ โดฮา ซึ่งเป็นสถานที่จัดการแข่งขัน

ในฟุตบอลโลกครั้งนี้ยังได้รับการเฉลิมฉลองว่าเป็นชัยชนะของฟุตบอลแอฟริกา พวกเขาไม่เคยผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายอีกเลยตั้งแต่ปี 2010 ที่กาน่าเอาชนะสหรัฐอเมริกาผ่านเข้ารอบมาได้ ก่อนหน้านั้นก็จะเป็นเซเนกัลในปี 2002 และแคเมอรูนในปี 1990 แต่ไม่มีชาติจากแอฟริกันทีมไหนที่ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศได้เลย

ผู้เล่นและโค้ชของโมร็อกโกเป็นกลุ่มที่แสดงความรักต่อประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมด้วยการรวมตัวกันหลังจากที่พวกเขาชนะการดวลจุดโทษเหนือสเปนในรอบ 16 ทีมสุดท้าย และแสดงท่าทางดั้งเดิมในการสวดอ้อนวอนต่ออัลลอฮ์โดยเริ่มที่หัวเข่าแล้วก้มหน้าผากไปที่พื้นดิน ผู้เล่นสองสามคนยังถือธงของปาเลสไตน์เข้าสู่สนามหลังจากนั้น และกลุ่มทั้งหมดถูกถ่ายรูปโดยมีธงนั้นอยู่ตรงกลางภาพ

เมื่อวันพุธ โมร็อกโกได้รับการแสดงความยินดีจากรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมจาก 20 ชาติอาหรับ เรื่องนี้นั้นเกิดขึ้นระหว่างการประชุมรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านกิจการวัฒนธรรมในโลกอาหรับ ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม เยาวชน และการสื่อสารของโมร็อกโกบอกกับ Morocco World News ว่าบรรดารัฐมนตรี "แสดงความดีใจและภาคภูมิใจอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของ แอตลาส ไลออนส์" และกล่าวว่าชาวโลกอาหรับทั้งโลกได้เฉลิมฉลองกับชัยชนะเหนือสเปนของพวกเขา

ชีค โมฮัมเหม็ด บิน ราชิด รองประธานาธิบดีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และเจ้าผู้ครองนครดูไบ ทวีตเป็นภาษาอาหรับว่า “สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ไม่ใช่โมร็อกโก … สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ไม่ใช่อาหรับ … บุรุษผู้กล้าหาญแห่งโมร็อกโก เราภูมิใจในตัวคุณก่อนคนทั้งโลกซะอีก”

สมเด็จพระราชินีราเนียแห่งจอร์แดนทรงฉลองโมร็อกโกบน Twitter: "ขอแสดงความยินดีกับ แอตลาส ไลออนส์ คุณทำให้เรามีความสุข" เธอเขียนเป็นภาษาอาหรับ จากนั้นเธอพูดเป็นภาษาอังกฤษว่า “ว้าว โมร็อกโก เธอทำได้อีกแล้ว!”

มันมีการเฉลิมฉลองกันยกใหญ่ในเมืองใหญ่ ๆ ของประเทศในยุโรปอย่าง ลอนดอน, ปารีส และ บาร์เซโลนา และแน่นอน ในเมืองใหญ่ของ โมร็อกโก ก็เช่นกัน และก็รวมไปถึงประเทศอย่าง ลิเบียและยูเออีด้วย และก็แน่นอนว่าในประเทศกาตาร์ด้วย ที่มีแฟนโมร็อกโกนับพันเดินทางมาเข้าชมทีมของพวกเขาลงเล่น

นี่เป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการในสถานการณ์อื่น แฟน ๆ ของทีมชาติสหรัฐอเมริกาจะเชียร์เม็กซิโกอย่างใจจดใจจ่อหรือไม่ หากทีมของพวกเขาตกรอบและเม็กซิโกผ่านเข้ารอบลึก ๆ มาได้? ทีมที่จะแพ้ในคู่ระหว่างฝรั่งเศสกับอังกฤษจะเปลี่ยนมาเชียร์ทีมที่จะชนะในรอบรองชนะเลิศหรือไม่?

มีอดีตชาวโมร็อกโกประมาณ 100,000 คนและลูกหลานของพวกเขาอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา และหลายคนเดินทางไปซินซินนาติในเดือนมิถุนายนเพื่อดูทีมชาติโมร็อกโกเล่นกับสหรัฐอเมริกาในนัดกระชับมิตรก่อนฟุตบอลโลก พวกเขาสร้างความประทับใจในเชิงบวกอย่างท่วมท้นด้วยความหลงใหลที่มีต่อทีมบ้านเกิด แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาก็สร้างความประทับใจให้กับเจ้าบ้านอย่างอเมริกาด้วย

เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์โมร็อกโก มันช่วยให้ตระหนักว่านี่คือความสำเร็จที่หาได้ยาก ไม่ใช่แค่สำหรับทีมนี้โดยเฉพาะแต่สำหรับชาติอาหรับทั้งหมด

ตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา มี 33 ทีมจากประเทศอาหรับที่ผ่านเข้ารอบฟุตบอลโลก ซึ่งรวมถึงกาตาร์ในปีนี้ที่ได้เข้าร่วมโดยอัตโนมัติในฐานะเจ้าภาพ นอกจากทีมโมร็อกโกแล้ว มีเพียงสองคนเท่านั้นที่สามารถผ่านเข้าสู่รอบน็อกเอาต์ได้: โมร็อกโกในปี 1986 ซึ่งชนะกลุ่มด้วยสถิติ ชนะ 1 เสมอ 0 แพ้ 2 และแอลจีเรียในปี 2014 ซึ่งจบอันดับสองด้วยสกอร์ ชนะ 1 เสมอ 1 แพ้ 1 ทั้งสองทีมแพ้ในเกมรอบ 16 ทีม โมร็อกโก ปี 86 ถูกเยอรมนีตะวันตกเขี่ยตกรอบด้วยสกอร์ 1-0 แอลจีเรีย ปี 2014 ตกรอบด้วยสกอร์ 2-1 จากการแพ้ให้กับเยอรมนีจากการทำประตูในช่วงต่อเวลาพิเศษโดย เมซุต โอซิล

อีก 30 ทีม มี 20 ทีมจบอันดับสี่ในกลุ่ม และ 10 ทีมจบอันดับสาม และ 20 คนกลับบ้านโดยไม่ชนะสักเกม โมร็อกโกทีมนี้เก็บชัยชนะได้เกือบหนึ่งในสี่ (3) เมื่อเทียบกับทีมชาติอาหรับอื่นๆ ทั้งหมดในฟุตบอลโลกครั้งอื่นๆ (13)

ผลงานของพวกเขาน่าทึ่งเป็นพิเศษเมื่อโมร็อกโกไล่หัวหน้าโค้ช วาฮิด ฮาลิลฮอดซิช ออกในเดือนสิงหาคม และแทนที่ด้วย วาลิด เรกรากุย ซึ่งเคยคุมทีมสโมสรชั้นนำของประเทศอย่าง วีแดด คาซาบลังก้า

นั่นทำให้ช่วยรักษาความแตกแยกที่รุนแรงกับผู้เล่นชาวโมร็อกโกที่มีชื่อเสียงที่สุดอย่าง ฮาคิม ซิเย็ค ซึ่งเกิดในเนเธอร์แลนด์ แต่ปฏิเสธข้อเสนอที่จะเล่นให้กับประเทศบ้านเกิดของเขาและเลือกเข้าร่วมกับชาติรากเหง้าของเขาแทน

ซิเย็ค นักเตะที่ชนะแชมเปี้ยนส์ลีกกับเชลซี ได้ออกสตาร์ทในฟุตบอลโลกทุก ๆ เกมด้วยตำแหน่งริมเส้นทางขวาแถมยังทำประตูและแอสซิสต์ได้อีกด้วย นอกจากนี้เขายังมีสไตล์การเล่นที่ดุดัน

ซิเย็ค ได้ลงเล่นฟุตบอลด้วยพลกำลังที่เหลือล้นและได้พาทีมชาติโมร็อกโกมาได้ไกลสุด ๆ

NBA LEAGUE PASS สมัครเพื่อชมการแข่งขันเอ็นบีเอสดทุกนัดคลิก

ผู้แต่ง
Author Photo
Mike DeCourcy is a Senior Writer at The Sporting News
LATEST VIDEOS