ไปเอามาจากไหน : เปิดสีเสื้อเหย้าทีมฟุตบอลที่ไม่เหมือนสีธงชาติ มีที่มาอย่างไร

Author Photo
SN Illustration
[red-button widget_catalog_id="m88_th_4" link="https://wealthygift15.com" logo_name="M88" game_title="เดิมพันฟรีพร้อมรับโบนัสก้อนใหญ่สุดคุ้ม!" button_text="คลิกที่นี่"]
TSN
[/red-button]

เมื่อพูดถึงการแข่งขันระดับชาติ หนึ่งสิ่งที่จะต้องพูดถึง ก็คือชุดแข่งของแต่ละทีมชาติที่เข้าร่วมการแข่งขันนั่นเอง

อย่างที่เราทราบ สีที่อยู่บนชุดแข่งของแต่ละชาตินั้น ส่วนใหญ่จะอิงจากสีที่อยู่บนธงชาติ แต่ก็มีหลายชาติบนโลก ที่สีชุดแข่งของพวกเขา ไม่ได้ปรากฏอยู่ในธงชาติแต่อย่างใด แล้วสีเสื้อเหย้าของพวกเขามีที่มาจากไหน? ติดตามได้ที่นี่

เยอรมนี

Florian Wirtz of Germany
Getty Images

ข้อมูลจากหนังสือ "Tutti I colori del calcio" (หรือแปลเป็นภาษาอังกฤษ All the Colors of Football) ได้อธิบายว่า สาเหตุที่ทำให้ “ทัพอินทรีเหล็ก” เลือกใช้ชุดเหย้าสีขาว (และกางเกงสีดำ) มาจากธงอินทรีดำบนผืนสีขาว ซึ่งเป็นธงชาติของอาณาจักรปรัสเซีย แกนหลักที่รวบรวมรัฐต่าง ๆ ในดินแดนเยอรมันให้เป็นหนึ่งเดียว จนนำไปสู่การก่อตั้งจักรวรรดิเยอรมันในปี 1871

ต่อมาในช่วงสงครามเย็น เยอรมนีได้แตกออกเป็นสองประเทศ โดยเยอรมนีตะวันตกยังเลือกใช้ชุดเหย้าสีขาวตามเดิม ส่วนเยอรมนีตะวันออกที่เป็นคอมมิวนิสต์ เลือกใช้สีน้ำเงินเป็นสีชุดเหย้า ซึ่งมาจากสีชุดเครื่องแบบขององค์กรยุวชนแห่งพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี (Socialist Unity Party of Germany) ที่เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ที่ปกครองประเทศตอนนั้น

อีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับทีมชาติเยอรมนี ก็คือชุดเยือนของพวกเขา ที่ส่วนใหญ่จะเป็นสีเขียวไม่กี่สีดำ

แน่นอนสีดำมาจากสีธงชาติ ส่วนสีเขียวมีหลายคนเชื่อว่า มาจากชุดสีเขียวของทีมชาติไอร์แลนด์ เพราะไอร์แลนด์เป็นชาติแรกที่ลงแข่งขันกับเยอรมนีตะวันตก หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง

Gundogan Germany

แต่ความจริงสีเขียวที่ว่านี้ มาจากสีโลโก้ของสมาคมฟุตบอลแห่งเยอรมนีหรือ DFB (มาจากสีหญ้าสนามฟุตบอล) แถมชาติแรกที่ลงแข่งขันกับเยอรมนีตะวันตก ก็ไม่ใช่ไอร์แลนด์แต่เป็นสวิสเซอร์แลนด์ต่างหาก

อิตาลี

Jorginho Italy 061324
getty images

ชุดเหย้าสีน้ำเงินของพลพรรคอัซซูรี่ ไม่ได้มาจากสีธงชาติอิตาลี แต่มาจากสีประจำราชวงศ์ซาวอย (House of Savoy) ที่ปกครองอิตาลีในช่วงปี 1861-1946

แม้ว่าอิตาลียกเลิกระบอบกษัตริย์ไปแล้ว แต่สมาคมฟุตบอลแห่งอิตาลี ก็ยังคงให้ชุดเหย้าของทีมชาติเป็นสีน้ำเงินตามเดิม

เนเธอร์แลนด์

Teun Koopmeiners Netherlands 061124
getty images

กรณีนี้คล้ายกับอิตาลี นั่นก็คือชุดเหย้าสีส้มของทีมชาติเนเธอร์แลนด์ มาจากสีของราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซา (House of Orange-Nassau) ที่ปกครองเนเธอร์แลนด์ โดยในช่วงปี 1572-1795 สีแดงบนธงชาติเนเธอร์แลนด์นั้น ก็เคยเป็นสีส้มมาก่อน

คูเวต

ธงชาติของคูเวตไม่มีสีฟ้า แต่สีฟ้าในชุดเหย้าของทีมชาติคูเวต มีความหมายถึงท้องทะเลและท้องฟ้าสีคราม นอกจากนี้ยังสื่อถึงการเป็นแหล่งไข่มุก รวมถึงความกว้างใหญ่ของจักรวาลด้วย 

นิวซีแลนด์

ชุดสีขาวและสีดำของทีมชาตินิวซีแลนด์ มาจากสีของชุดกีฬารักบี้ ซึ่งมาจากสีประจำชาติของชาวเมารี ที่ประกอบไปด้วยสีขาว สีดำ และสีแดง 

ออสเตรเลีย

ชุดเหย้าสีเหลืองแถบเขียวของทีมชาติออสเตรเลีย มาจากสีของดอกโกลเด้น วัทเทิ้ล (Golden Wattle) ดอกไม้ประจำชาติของออสเตรเลีย

Tim Cahill Socceroos Australia World Cup
Getty Images

แต่ก็มีบางทฤษฎีบอกว่า สีเหลืองหมายถึงทะเลทราย ส่วนสีเขียวหมายถึงป่าไม้ที่อยู่ภายในออสเตรเลีย นอกจากนี้สีทั้งสองยังถูกพยายามนำไปเป็นสีธงชาติใหม่ของออสเตรเลีย แทนที่ธงชาติเดิมที่มีตรายูเนี่ยนแจ็ค ที่ถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของการเป็นอาณานิคม

ญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นหนึ่งในชาติมหาอำนาจลูกหนังแห่งทวีปเอเชีย ภายใต้ชุดเหย้าสีน้ำเงินอันเป็นเอกลักษณ์ของพวกเขา จึงทำให้ทีมชาติญี่ปุ่นได้รับฉายา "ซามูไรสีน้ำเงิน" แล้วสีน้ำเงินที่ว่านี้มาจากไหน เพราะธงชาติของญี่ปุ่นก็มีแค่สีขาวกับสีแดงเท่านั้น

มีหลายทฤษฎีที่ใช้อธิบาย เริ่มจาก ซาบุโร่ คาวาบุจิ (Saburo Kawabuchi) อดีตกองหน้าทีมชาติญี่ปุ่นในช่วงปี 1958-1965 ได้บอกว่า สีน้ำเงินเป็นสีที่ดูเข้ากันและตัดกับสีธงชาติญี่ปุ่นเป็นอย่างดี

อีกทฤษฎีก็บอกว่า สีน้ำเงินมีความหมายสื่อถึงท้องฟ้าและผืนมหาสมุทรที่ผูกพันกับญี่ปุ่น หรือบ้างก็ว่า เป็นเพราะประเทศเพื่อนบ้านของญี่ปุ่นอย่างจีน เกาหลีใต้ หรือแม้แต่เกาหลีเหนือ ได้หยิบเอาสีแดงไปใช้แล้ว ญี่ปุ่นเลยต้องใช้สีน้ำเงินแทน

Keisuke Honda Japan Senegal World Cup 2018

ทีมชาติญี่ปุ่นใส่ชุดเหย้าสีน้ำเงินครั้งแรก ในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี 1936 ที่เยอรมนี (ตอนนั้นคือนาซีเยอรมัน) เป็นเจ้าภาพ ซึ่งการแข่งขันครั้งนั้น ญี่ปุ่นก็ได้สร้างปาฏิหาริย์แห่งเบอร์ลิน (Miracle of Berlin) โดยการพลิกแซงชนะทีมชาติสวีเดน จากที่โดนนำก่อน 0-2 กลายเป็นแซงชนะ 3-2 สีน้ำเงินจึงกลายเป็นสีนำโชคของทีมชาติญี่ปุ่นนับแต่นั้น

อย่างไรก็ตามในช่วงปี 1988 ถึง 1992 ทีมชาติญี่ปุ่นตัดสินใจเปลี่ยนสีชุดเหย้าจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง เพื่อให้สอดคล้องกับสีบนธงชาติ แต่ทีมชาติญี่ปุ่นในตอนนั้น ก็ไม่สามารถผ่านเข้ารอบสุดท้ายของฟุตบอลโลกปี 1990 และโอลิมปิกฤดูร้อนปี 1992 ได้ ญี่ปุ่นเลยเลิกใช้สีแดงและกลับมาใช้สีน้ำเงินตามเดิม

เวเนซุเอลา

ในอดีตประเทศในภูมิภาคอเมริกาใต้ อย่างโคลอมเบีย เวเนซุเอลา และเอกวาดอร์ เคยรวมเป็นประเทศเดียวกันมาก่อนในชื่อ "กราน โคลอมเบีย" (Gran Colombia) จึงไม่แปลกอะไร ที่ธงชาติของทั้งสามประเทศนี้ จะมีสีที่คล้ายคลึงกัน (ธงสามแถบสีเหลือง สีน้ำเงินและสีเเดง)

ทางด้านของโคลอมเบียกับเอกวาดอร์เลือกใช้สีเหลืองจากธงชาติเป็นสีชุดเหย้าของพวกเขา แต่เวเนซุเอลากลับใช้สีเลือดหมูเป็นสีชุดเหย้าแทน 

ส่วนเหตุผล บ้างก็ว่าเกิดจากการผสมของสีทั้งสามบนธงชาติทำให้ได้เป็นสีเลือดหมู บ้างก็ว่ามาจากสีเครื่องแบบของกองทัพเวเนซุเอลา หรืออาจจะไม่ได้มีอะไรมาก ก็แค่ไม่อยากใช้สีซ้ำกับเพื่อนบ้านก็แค่นั้น 

[red-block widget_catalog_id="dafa_th_2" title="ทำนายผลการแข่งขันเพื่อรับรางวัลใหญ่! คลิกที่นี่" link="https://bit.ly/3AaJ15t"]

รับเครดิตฟรี ยูโร ที่ M88 คลิก!

ลุ้นโชคที่นี่! ทายผลฟุตบอลประจำวันกับเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือที่สุด

ติดตามบทความและข่าวสารกีฬาอื่นๆของเรา

Facebook : https://www.facebook.com/TheSportingNewsTH
Instagram : https://www.instagram.com/thesportingnews_th
Tiktok : https://www.tiktok.com/@thesportingnewsthailand

ผู้แต่ง
Author Photo
Beyond the score: The sports world explained. The Sporting News has been a trusted sports media publisher since 1886, delivering the news, insights and entertainment that fans around the world need to know.