รู้จักดราฟต์ NBA : คืออะไร? มีกี่รอบ? กฎเป็นอย่างไร?

Author Photo
NBA Draft 2022
Getty Images

หากใครได้ดูบาส NBA อย่างต่อเนื่อง เราก็คงจะได้เห็นผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาในทุกๆฤดูกาล ซึ่งพวกเราต่างก็ตื่นเต้นไปพร้อมๆกันว่าผู้เล่นคนไหนจะเฉิดฉายในอนาคตหรือผู้เล่นคนไหนจะตกอับเพราะฝีมือไม่ถึง โดยเหตุการณ์นี้เราเรียกมันว่าการดราฟต์นั่นเอง 

NBA ดราฟต์ คืออะไร?

NBA ดราฟต์คือสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกๆปี ซึ่งการดราฟต์นั้นก็คือการที่ทีมใน NBA จะได้เลือกผู้เล่นที่ดีที่สุดจากผู้เล่นในมหาลัย, NBA จีลีก หรือ ผู้เล่นต่างชาติเพื่อนำเข้ามาสู่ทีม โดยในปีที่ผ่านๆมานั้นทางด้านของ NBA ก็ได้ปรับเปลี่ยนแก้ไขและพัฒนากระบวนการที่จะทำให้การดราฟต์และอันดับการดราฟต์นั้นเป็นธรรมและเหมาะสมที่สุดเพื่อให้ลีกเดินไปข้างหน้าได้แบบไม่มีใครได้เปรียบจนเกินไป

คุณสมบัติของผู้เล่นที่เข้าร่วม NBA ดราฟต์

สองปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้เล่นคนนั้นได้เข้าร่วมการดราฟต์คือต้องมีอายุอย่างน้อย 19 ปี และผู้เล่นต้องจบจากการศึกษาจากมัธยปลายอย่างน้อยหนึ่งปีซึ่งนอกจากนั้นก็ยังมีปัจจัยและคุณสมบัติอีกหลายอย่าง

คุณสมบัติโดยปกติที่ NBA กำหนดให้ผู้มีสิทธิ์เข้าดราฟต์ มีดังต่อไปนี้

  • ผู้เล่นคนนั้นจบการเรียนสี่ปีในมหาวิทยาลัย หรือหากไม่ได้เขาเรียนในมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา ก็สามารถเข้าสู่การดราฟต์ได้ หากจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมในสหรัฐอเมริกา
  • หรือ หากได้เซ็นสัญญาและเล่นกับทีมมืออาชีพนอก NBA ก็สามารถเข้าร่วมการดราฟต์ได้เช่นกัน (แต่ต้องออกจากสัญญานักบาสอาชีพที่มีอยู่ เพื่อเข้าการดราฟต์) 

อย่างไรก็ตาม NBA ได้เพิ่มทางเลือกสำหรับนักบาสหนุ่มคนไหนที่ไม่อยากรอให้ตัวเองเรียนมหาวิทยาลัยครบ 4 ปี แต่คิดว่าตัวเองพร้อมจะเล่นใน NBA ทันที NBA ก็เปิดโอกาสให้เช่นกัน

โดยวิธีการก็คือ ผู้เล่นที่ไม่ได้อยู่ในคุณสมบัติข้อแรกแต่อยากที่จะเข้าดราฟต์ในปีนั้น ต้องประกาศก่อนมีการดราฟต์ NBA 60 วัน และหากเปลี่ยนใจ สามารถถอนรายชื่อได้ก่อน 10 วันที่จะมีการดราฟต์ 

อย่างไรก็ตาม การเลือกวิธีนี้มีความเสี่ยงอยู่มากเพราะ หากนักบาสหนุ่มคนไหนประกาศเข้าการดราฟต์หรือเซ็นสัญญากับเอเยนต์แล้ว พวกเขาจะไม่สามารถลงเล่นให้กับมหาลัยได้อีก 

ซึ่งผู้เล่นที่ประกาศเข้าการดราฟต์ แต่ไม่ถูกเลือก และเขาก็จะไม่สามารถเล่นให้กับมหาลัยได้อีกด้วย ดังนั้นนี่จึงเป็นความเสี่ยงที่จะต้องยอมรับ เพราะหากไม่ถูกเลือก อนาคตในวงการบาสเกตบอลกับ NBA ก็อาจจะจบเลยก็ได้ เพราะนักบาสรายนั้นจะไม่สามารถกลับไปโชว์ผลงานในระดับมหาวิทยาลัยได้อีก

ส่วนผู้เล่นต่างชาตินั้นจะแตกต่างจากกฎปกติเล็กน้อย เพราะผู้เล่นต่างชาติจะมีสิทธิ์ดราฟต์ใน NBA ก็ต่อเมื่อพวกเขา มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  • เล่นบาสอาชีพนอกสหรัฐอเมริกา อย่างน้อย 3 ปี และต้องอาศัยอยู่นอกสหรัฐอเมริกา ตลอดช่วงเวลานั้น 
  • ไม่เคยลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา
  • เรียนไม่จบมัธยมปลายในสหรัฐอเมริกา 

โดยนักบาสจากต่างชาติ จะต้องผ่านเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อ ถึงจะมีสิทธิ์เข้าร่วการดราฟต์ของ NBA

นอกจากนี้พวกเขายังต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมที่ไม่ต่างจากนักบาสในสหรัฐอเมริกา นั่นคือ

  • อายุอย่างน้อย 19 ปี
  • ต้องจบจากการศึกษาระดับมัธยมปลายอย่างน้อย 1 ปี

NBA ดราฟต์มีกี่รอบ? และทำไมบางทีมมีสิทธิ์ดราฟต์มากกว่าทีมอื่น?

การดราฟต์ของ NBA นั้นมีทั้งหมดสองรอบ และทุกทีมจะได้หนึ่งสิทธิ์ในการเลือกต่อรอบ นั่นหมายความว่าแต่ละทีมจะมีสิทธิ์เลือกผู้เล่นสองครั้งในทุกการดราฟต์นั้นเอง 

อย่างไรก็ตาม ทีมหนึ่งสามารถเลือกได้มากกว่าสองครั้ง หรือไม่มีสิทธิ์เลือกในปีนั้นเลยก็ได้ หากสิทธิ์ดราฟต์ที่ทีมถือนั้นถูกเทรดเข้ามาหรือเทรดออกไป

กฏของการเทรดสิทธิ์ดราฟต์

ทีมจะได้รับอนุญาตให้เทรดสิทธิ์ดราฟต์ในอนาคตได้ไม่เกิน 7 ปี โดยกฎของสเตเปียนได้กำหนดไว้ว่าทีมไม่สามารถเทรดสิทธิ์ดราฟต์รอบแรกสองปีติดต่อกันได้

เช่น ทีมไม่สามารถเทรดสิทธิ์ดราฟต์รอบแรกในปี 2023 และ 2024 ได้ (อาจมีข้อยกเว้นบางอย่างสำหรับกฎนี้) เพื่อให้มั่นใจว่าอนาคตการสร้างทีมขององค์กรจะไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบโดยผู้บริหารชุดปัจจุบัน

นอกจากนั้นทีมยังสามารถ "ปกป้อง" สิทธิ์ดราฟต์ของพวกเขาในการเทรดได้ด้วย อย่างเช่น ทีม A เทรดสิทธิ์ดราฟต์รอบแรกไปให้ทีม B ซึ่งถ้าทีม A เลือกที่จะ “ป้องกันดราฟต์ 10 อันดับแรก" นั่นหมายความว่า เมื่อการดราฟต์มาถึง หากสิทธิ์ดราฟต์ของทีม A อยู่ใน 10 อันดับแรก พวกเขาจะสามารถเก็บสิทธิ์นั้นไว้ได้ แต่หากไม่มีสิทธิ์นั้นก็จะตกเป็นของทีม B ส่วนในสถานการณ์ที่ทีม A เก็บสิทธิ์ดราฟต์เอาไว้ สิทธิ์ดราฟต์ครั้งต่อไปจะไปตกอยู่ที่ทีม B และจะไม่มีการป้องกัน (ไม่ว่าเป็นดราฟต์สิทธิ์ไหนในรอบแรกก็ตาม)

หวยสิทธิ์ดราฟต์คืออะไร? (Draft Lottery)

หวยสิทธิ์ดราฟต์จะใช้ในการเรียกดราฟต์อันดับที่ 1 ถึง 14 ในดราฟต์ของทุกปี ซึ่ง 14 ทีมที่ไม่ได้เข้าเพลย์ออฟในฤดูกาลก่อนหน้าจะมีลุ้นสิทธิ์ในการลุ้นดราฟต์อันดับ 1 ทั้งหมดแต่เปอร์เซนต์ก็จะแตกต่างกันออกไป โดยสามทีมที่มีสถิติแย่ที่สุดในฤดูกาลที่ผ่านมาจะได้เปอร์เซนต์มากที่สุดที่จะได้ดราฟต์อันดับ 1 ที่ 14 เปอร์เซนต์ 

ส่วนทีมไหนที่ไม่ได้เข้าเพลย์ออฟก็จะต้องลดหลั่นตามไปเรื่อยๆจากสถิติแย่ที่สุดไปจนถึงสถิติดีที่สุดตามนี้

  • อันดับ 1: 14%
  • อันดับ 2: 14%
  • อันดับ 3: 14%
  • อันดับ 4: 12.5%
  • อันดับ 5: 10.5%
  • อันดับ 6: 9.0%
  • อันดับ 7: 7.5%
  • อันดับ 8: 4.5%
  • อันดับ 9: 4.5%
  • อันดับ 10: 4.5%
  • อันดับ 11: 1.8%
  • อันดับ 12: 1.7%
  • อันดับ 13: 1.0%
  • อันดับ 14: 0.5%

หลังจากดราฟต์ 14 อันดับแรกแล้วนั้น ดราฟต์อันดับ 15-60 นั้นก็จะถูกกำหนดโดยสถิติของช่วงฤดูกาลปกติที่ผ่านมาเหมือนกัน ซึ่งดราฟต์ในทุกๆปีก็จะมีเซอร์ไพรส์ให้เราได้เห็นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการเทรดหรือเลือกตัวผู้เล่นเข้ามาเพราะการเดาใจผู้บริหารของทีมก็ยากไม่ใช่น้อย ร่วมสมัครทายผู้เล่นดราฟต์อันดับ 1-10 ชิงรางวัลกับการแข่งขันNBAได้ที่นี่ 

บทความที่เกี่ยวข้อง : เจาะฟอร์ม สกู๊ต เฮนเดอร์สัน : ตัวเต็งอันดับ 2 ของดราฟท์ปี 2023

บทความที่เกี่ยวข้อง : เจาะลึกความโหด แบรนดอน มิลเลอร์ : ตัวเต็งอันดับ 3 ของดราฟท์ปี 2023

บทความที่เกี่ยวข้อง : เปิดประวัติ วิคเตอร์ เวมบันยามา : เด็กปีศาจว่าที่ดราฟท์อันดับ 1 ปี 2023

NBA LEAGUE PASS สมัครเพื่อชมการแข่งขันเอ็นบีเอสดทุกนัดคลิก

ผู้แต่ง
Author Photo
นักวิเคราะห์บาสเกตบอล NBA ของ The Sporting News ผู้เจาะลึกทุกเพลย์การเล่น
LATEST VIDEOS